รับติดตั้งกระจก

รับติดตั้งกระจก ฉากกั้นอาบน้ำ กระจกกั้นห้องน้ำ กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) กระจกกั้นสำนักงาน กระจกโชร์รูม กระจกลามิเนต กระจกเคลือบสี (Colorkote) กระจกราวกันตก กระจกมุงหลังคา ราคาถูกกว่าห้าง ราคาโครงการ บริการสำรวจหน้างานฟรี

Tel : 089 649 8989

คุณเลอรัตน์ เตียงสุวรรณ์

Tel : 091 969 8945

คุณสิฏา เตียงสุวรรณ์

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) กับคุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass หรือ T/P ) หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบเป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคมจึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) คือการนำกระจกธรรมดาไปผ่านกระบวนการอบที่ความร้อนสูงประมาณ 650ºC แล้วนำมาเป่าด้วยลมแรงดันสูงให้เย็นตัวลงทันที เพื่อให้กระจกเกิดความแข็งแกร่งกว่าเดิม 3-5 เท่า ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และมีความปลอดภัยมากขึ้น ในกรณีที่กระจกเทมเปอร์เกิดการแตกหัก จะแตกออกเป็นเม็ดคล้ายเม็ดข้าวโพด ซึ่งมีความแหลมคมไม่มาก ทำให้มีโอกาสเกิดอันตรายน้อยกว่ากระจกธรรมดา เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงต่อการแตกร้าวและต้องการความปลอดภัยที่เกิดจากกระจกแตกร้าว (safety)

กระบวนการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เริ่มด้วยการนำกระจกธรรมดาอบด้วยความร้อนจนมีความร้อนประมาณ 650ºC แล้วเป่าด้วยลมให้เย็นลงอย่างรวดเร็วทันที ผิวนอกของกระจกจะแข็งก่อนกระจกที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรียงตัวของโมเลกุลกระจก และเกิดความเครียดในเนื้อกระจก ผลของความเครียดนี้ทำให้เกิดเส้นแรงสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นเส้นแรงที่ล้อมรอบกระจกทั้งแผ่น ชนิดที่สองเป็นแรงภายในเนื้อกระจกที่ดันออกภายนอก ทำให้กระจกมีคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว

สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้

  1. กระจกเทมเปอร์ ใช้เป็นประตูบานเปลือย ฉากกั้นอาบน้ำ ผนังกั้นภายใน ผนังกระจกทั้งสองหน้า และ ภายในตัวอาคารได้
  2. กระจกเทมเปอร์ ใช้ทำเป็นตู้โทรศัพท์ ห้องโชว์ ตู้สินค้าอัญมณีที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรง กระแทก
  3. กระจกเทมเปอร์ ใช้ทำเป็นกระจกงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า
  4. กระจกเทมเปอร์ ใช้ทำเป็นหน้าต่าง ผนังอาคาร ผนังกระจกของอาคารในบริเวณที่เผชิญกับความร้อน สูงกว่าปกติ
  5. ประตูบานเปลือย และผนังกระจกทั้งสองหน้าและภายในตัวอาคาร
  6. หน้าต่าง ผนังอาคาร ผนังกระจก (Glass Curtain Wall) ของอาคารในบริเวณ ที่มีแรงลมสูง บริเวณหน้าคานของอาคารหน้าต่าง ตู้อบไฟฟ้า หรือบริเวณที่ต้องเผชิญกับความร้อนสูงกว่าปกติ
  7. กรณี ที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรงกระแทก
  8. งานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า